วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

e LEARNING LOG f

วิชา ง30206 การตัดต่อภาพยนตร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2550
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ชยการ คีรีรัตน์ อาจารย์นิสิต กันตพงศ์ ปิ่นปัทมเรขา
อาจารย์นิสิต มารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์
บันทึกประจำวันที่ …12…../….11.…/….2550.….
ชื่อ-นามสกุล……วิน …สุวรรณนิกรกุล………………………………………………………..
ชั้น………ม…3/3……เลขที่…………29………….

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวันนี้……วิธีการใช้โปรแกรม ยูลีด และการทำสตอรี่บอร์ด……………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......
ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานกลุ่ม……ช่วยเพื่อนทำงานได้……………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สิ่งที่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม………วิธีใช้งานเพิ่มเติม…………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......
………………………………………………………………………………………………….......
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม…………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….......
………………………………………………………………………………………………….......

________________________________________________

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

e LEARNING LOG f

วิชา ง30206 การตัดต่อภาพยนตร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2550
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์ชยการ คีรีรัตน์ อาจารย์นิสิต กันตพงศ์ ปิ่นปัทมเรขา
อาจารย์นิสิตมารีน่า จงเลิศเจษฎาวงศ์
บันทึกประจำวันที่ …5…/…11…/…2550…
ชื่อ-นามสกุล…วิน…สุววรณนิกรกุล…
ชั้น……3/1………เลขที่…29…

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเรียนการสอนในวันนี้-ได้เรียนรู้โปรแกรม U-lead videostudio ในการ Insert image และทำvideoต่างๆ
ทำEffect Transmition
ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการทำงานกลุ่ม-สามารถนำไปใช้กับการถ่ายทำและตัดต่อ video ของกลุ่ม
สิ่งที่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติม-วิธีการใช้(เพราะยังทำไม่ค่อยได้)
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม-ไม่มีข้อเสนอแนะ


________________________________________________

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550


ยาหม่องน้ำตราฟรุ๊ตตี้
ตัวละครที่แสดง
ดิศรณ์ : จอมยุทธด่อน(พ่อ)
สุทธิพันธ์: จอมยุทธช่อย(แม่)
วิน: จอมยุทธวิน(ลูก)
ฟารินทร์: คนพากก์และเจ้าของ เบรน ยาหม่องนำตราฟรุ๊ตตี้
บทนำเรื่อง
ณ เมืองแห่งหนึ่งมีศาลท้าประลองปักตั้งอยู่กลางทางให้เชิญ จอมยุทธวินมาประลองยุทธฝีมือ ณ ดงป่าเขาฟรุ๊ตตี้ ผู้เขียนศาลท้าประลองคนนั้นคือ จอมยุทธวินซึ่งชาวบ้านที่เดผ่านไปมาล้วนอยากดูการประลองกันทั้งสิ้น ส่วนทางด้สานจอมยุทธที่จอมยุทธวินท้าประลองมานั้นมีท่า ดาบนกขมิ้น
แต่ไฉนเลยจอมยุทธวินก็มีท่า ดาบเทพอสูรคืนฟ้าดิน และก็ใกล้ถึงวันประลองเข้ามาทุกที....
กลางเรื่อง
เมื่อถึงวันประลองในฟดูใบไม้ร่วงตามสสนาม

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เหี้ยไม่ดีตรงไหน

เหี้ย (Water Monitor) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกเดียวกับตะกวด ตัวอ้วนใหญ่สีดำ มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยบริวเณใกล้น้ำ ภาคอีสานเรียก แลน
คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอ บางคนจึงเรียก ตัวเงินตัวทอง แทน ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมากๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี
ลักษณะ
มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว 2.5-3 เมตร มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่งและ ดำน้ำนาน ซึ่งเหี้ยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ตะกวด( เห่าช้าง และ ตุ๊ดตู่ ลักษณะนิสัยของตัวเหี้ยจะตื่นคน เมื่อเห็นจะวิ่งหนี

การหากิน
ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่ เป็ด ปู หอยงู หนู ไก่ นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา

การผสมพันธุ์
ออกลูกเป็นไข่คราวละ 15-20 ฟอง และใช้เวลาฟัก 45-50 วัน ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่
ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น วางไข่ประมาณ 6-50 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม

สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง
ด้วยมีการล่าสัตว์ในตระกูลนี้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการลดลงของป่าไม้ ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จึงมี "สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง " ให้ได้ชมตัวจริง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

การบริโภค
เหี้ยมีการนำมารับประทานในทางภาคเหนือนำมาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า "แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือแลน(เลี้ยง)กับแลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางที่เรียกว่า " บ้องตัน " จะอร่อยที่สุดเพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย

ที่มาของคำด่าทอ
ในสมัยอดีต ชาวบ้านมักจะเลี้ยงไก่ไว้ในบริเวณบ้าน ตัวเหี้ยมักจะมาขโมยไก่ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ ทำให้เป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดมาก เลยนำมาใช้เรียกคนไม่ดี ว่า "ไอ้เหี้ย" และกลายเป็นคำด่าทอมาจนปัจจุบัน อนึ่ง มีความเชื่อว่าถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง "

แหล่งข้อมูลอื่น
ตื่นทัพเหี้ยบุกบ้าน คมชัดลึก วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550

แร้งครับแร้ง

ภารกิจปล่อย ‘แร้งดำหิมาลัย’
บินกลับคืนสู่เวหาเรียบร้อยแล้วสำหรับนกอีแร้งดำหิมาลัย ที่ได้บินอพยพแล้วมาพลัดตกในประเทศไทย ที่ อ.สอยดาว จ.จันทบุรี เมื่อช่วงเดือน ธ.ค. 49 ที่ผ่านมา แล้วได้รับการฟื้นฟูสุขภาพจนแข็งแรงพร้อมปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ที่ ดอยลาง ภายในเขตอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา โครงการฟื้นฟูสุขภาพแร้งดำหิมาลัยเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตรศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนเครื่องบิน C-130 จากกองทัพอากาศ เพื่อใช้ในการเดินทาง การปล่อยนกอีแร้งดำหิมาลัยหรือ “อนาคิน” (ชื่อที่ จนท.ของโครงการฯ ตั้งให้) ครั้งนี้ได้ปล่อยรวมกับนกอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยอีก 4 ตัวที่บินพลัดหลงมาตกในเมืองไทยเช่นกัน โดยภารกิจครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่เช้าวันที่ 9 พ.ค. ที่ กองบิน 6 กองทัพอากาศ เครื่องบินได้ออกเดินทางเวลาประมาณ 9 โมงเช้า ใช้เวลาบินประมาณ 1.30 ชั่วโมง ก็ถึงสนามบินเชียงราย จากนั้นต่อรถอีกประมาณ 2.30 ชม. ก็ถึงดอยลาง อย่างไรก็ตาม ในวันแรกเมื่อเดินทางถึงดอยลางแล้วสภาพอากาศปิดทาง ผศ.นสพ.ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว อาจารย์จาก คณะสัตวแพทย์ ม.เกษตศาสตร์ บอกว่า หากในวันพรุ่งนี้ อากาศยังปิดเช่นนี้การปล่อยนกทั้งหมดคงไม่สามารถทำได้เนื่องจากไม่มีลมร้อนพัด และขนปีกของนกจะเปียกไม่สามารถบินได้ไกล อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะปล่อยนกในวันรุ่งขึ้น ได้ทำการติดเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม (satellite telemetry) และ รหัสปีก (Wing Tag) ให้กับเจ้า “อนาคิน” โดยได้ Mr.Nyamba Batbayar (เนียมบา บัทบายาร์) นักปักษีวิทยาจากประเทศมองโกเลีย ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมกับนกชนิดนี้มาช่วย เครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมเครื่องนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด นำเข้ามาจากอเมริการาคาประมาณ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ และต้องเสียค่าเช่าสัญญาณดาวเทียมอีกปีละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทำงานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์) มีอายุการใช้งาน 3 ปี เครื่องสามารถส่งข้อมูลได้ทุกชั่วโมงในช่วงเวลาที่มีแสง โดยข้อมูลจะถูกส่งขึ้นไปยังดาวเทียม ARGOS ของอเมริกา จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งกลับมายังภาคพื้นดินที่สหรัฐแล้วทางนั้นก็จะส่งข้อมูลกลับมาให้ทางอีเมล ทุก ๆ 3 วัน ทั้งนี้ในเช้าวันต่อมาโชคดีที่สภาพอากาศบริเวณจุดปล่อยซึ่งเป็นหน้าผา ติดกับพม่าและห่างจากประเทศจีน 400 กม. นั้นมีแสงแดดและลมพัด ต่างจากเมื่อวานโดยสิ้นเชิง ทาง จนท.จึงได้เริ่มเปิดกรงปล่อยนกเมื่อเวลาประมาณ 09.25 น. ซึ่ง “อนาคิน” และอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยไม่บินในทันที ได้กางปีกผึ่งลมและแดด จนถึงเวลาประมาณ 10.10 น. นกอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย 3 ตัว ก็บินออกจากหน้าผาไปก่อน แต่ “อนาคิน” และอีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยอีก 1 ตัวไม่ยอมบิน ทำให้ นสพ.ดร.ไชยยันต์ ต้องเดินเข้าไปกระตุ้นอีแร้งหิมาลัยสีน้ำตาลตัวที่เหลือจึงบินขึ้นเวหาไป ส่วนเจ้า “อนาคิน” ต้องอุ้มขึ้นมาแล้วโยนขึ้นไปบนอากาศ จึงยอมบินออกไปท่ามกลางความโล่งอกของทุกฝ่าย นสพ.ดร.ไชยยันต์ บอกว่า เหตุที่ “อนาคิน” ไม่บินแต่แรกเป็นเพราะถูกเลี้ยงในกรงมานานถึง 4 เดือน อาจยังไม่ชินกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องเข้าไปกระตุ้นเพื่อให้ทั้งหมดบินกลับถิ่นไปพร้อมกันและช่วยกันหาอาหาร ทั้งนี้หลังจากปล่อย “อนาคิน” เดินทางกลับบ้านเรียบร้อย นสพ.ดร.ไชยยันต์ ได้ให้ข้อมูลการบินที่ได้จากเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมว่า ในวันที่ 11 พ.ค. หลังจากปล่อย 1 วัน “อนาคิน” ได้บินอยู่ในประเทศพม่า ห่างจากจุดที่ปล่อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 152.48 กม. บินด้วยความเร็ว 65 กม.ต่อชั่วโมง และได้เกาะพักผ่อนในป่าดิบเขา ระดับความสูง 1,103 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนวันที่ 12 พ.ค. 2550 “อนาคิน” ไม่ได้บินตลอดทั้งวัน คาดว่าสภาพอากาศไม่เหมาะสมต่อการร่อน หรืออาจจะเจอฝนทั้งวัน เมื่อเวลา 21.00 น. ได้เกาะพักผ่อนห่างจากจุดที่พักเมื่อวันที่ 11 พ.ค. เป็นระยะทาง 0.92 กม. ในป่าดิบเขา ซึ่งจุดที่เกาะพักอยู่ระหว่างแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 สาย ในรัฐฉาน ซึ่งน่าจะช่วยในการบินขึ้นเหนือ เพราะนกอพยพจะใช้ลักษณะภูมิประเทศ เช่น แนวเทือกเขา แม่น้ำ เป็นเสมือนแผนที่ในการอพยพ สำหรับผู้อ่านที่อยากติดตามความเคลื่อนไหวในการบินกลับบ้านของ “อนาคิน” ก็เข้าไปติดตามกันได้ที่ http://www.thairaptorgroup.com/ อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่ทางโครงการได้รับการสนับสนุนสามารถเช่าดาวเทียมได้เพียงหนึ่งปีเท่านั้น ผู้ที่สนใจจะบริจาคสมทบทุนโครงการฯ สามารถบริจาค ที่บัญชี “กองทุนฟื้นฟูแร้งดำหิมาลัย สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย” บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้โลตัส ฟอร์จูนทาวน์ เลขที่บัญชี 240-2-02731-7 ทั้งนี้ทางทีมงานได้พัฒนาโครงการฯ เพื่อตั้งเป็น “ศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพนกเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ” เพื่อทำงานช่วยเหลือนกอพยพที่บินพลัดหลงมาตกในเมืองไทย ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต.
จิราวัฒน์ จารุพันธ์mailto:จารุพันธ์jirawatj@dailynews.co.th
จากเวปhttp://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=39928&NewsType=2&Template=1

นี่คือสถานแห่งมนุษย์ลำปาง ไม่ใช่สถานแต่เปนข้อมูลข้อคี่


หาดปู่ด้าย หมู่ที่ 1 ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ค้นพบฟอสซิลโฮโมอิเร็คตัสอายุประมาณ 5 แสนปี เป็นครั้งแรกของโลกที่ซากมนุษย์โบราณ โดยคนเมืองลำปาง เป็นการเปิดเผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ มนุษย์ในทวีปเอเชีย
โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า

“ มนุษย์สยาม “ (Siam Man)

“มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ “ มนุษย์เกาะคา ” (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ
ที่ตั้งอยู่ที่บริเวณเขาป่าหนามใกล้บ้านหาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ลักษณะเป็นซอกหลืบหินปูน หรือโพลงถ้ำที่บริเวณเพดานพังลงมาทีหลังในภูมิประเทศแบบคาสต์ ใกล้แม่น้ำวัง แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาป่าหนามนี้ มีสภาพพิเศษที่เอื้ออำนวยให้ซากนี้ถูกเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร โดยสารฟอสเฟตซึ่งเกิดจากมูลค้างคาวสลายตัวและห่อหุ้มซากกระดูกทั้งหลายเอาไว้ภายในหลืบ – ซอกของพื้นถ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากสารฟอสเฟต เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำผิวดินหรือใต้ดิน
โฮโม อิเร็คตัส (Homo erectus) เป็นสายพันธ์มนุษย์ (Huminoid) มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 1ล้านถึง 5 แสนปีมาแล้วของสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) มีลักษณกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะและมีหน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา (Supra-Orbital Ridge) เป็นสันนูนหนา แต่ขนาดความหนาย้อยกว่ามนุษย์นีแอนเดอธัลเล็กน้อยมีความจุขนาดสมองปริมาตร 800 – 1,200 ซีซี

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550